explanatory_descriptive climate high lat
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ

ภูมิอากาศ

ละติจูดสูง

ภูมิอากาศ = ค่าเฉลี่ยของอุ่ณหภูมิและปริมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้นบริเวณใดบริเวณหนึ่งในหนึ่งปี
ภูมิอากาศในเขตละติจูดสูง : ซึ่งถูกควบคุมโดยกลุ่มอากาศแถบขั้วโลกและแถบอาร์กติก
ชื่อลักษณะอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศและการไหลของกลุ่มอากาศ
1. ลักษณะอากาศภาคพื้นทวีป ใต้อาร์กติก
continental sub arctic climate  Dfc, dfd, Dwc, Dwd
Lat 50°N - 70° N
ลักษณะอากาศแบบนี้อยู่ในทิศทางการไหลของกลุ่มอากาศ ภาคพื้นทวีปแถบขั้วโลก ซึ่งฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิคงที่ และอากาศหนาวจัดมาก ฤดูร้อนสั้นและอากาศเย็น อุณหภูมิประจำปีมีพิสัยกว้างพายุหมุนเกิดจากทะเลแถบขั้วโลก ทำให้มีน้ำฟ้าน้อย แต่การระเหยของน้ำฟ้าก็น้อย ลักษณะอากาศชุ่มชื้นมาก
2. ลักษณะอากาศภาคพื้นสมุทรกึ่งอาร์กติก
marine sub arctic climate          ET
Lat 50°N - 60°N และ Lat 55°S - 60°S
จะปรากฏบริเวณตามแนวอาร์กติก ในฤดูหนาวจะได้รับกลุ่มอากาศเย็นจากทะเลแถบขั้วโลก น้ำฟ้ามีมากและมีพิสัยอุณหภูมิน้อย ถ้าละติจูดสูงขึ้น
3. ลักษณะอากาศแถบทุนดรา
tundra climate            ET
Lat 55°N ขึ้นไปและ Lat 50°S ลงไป
ปรากฏตามชายฝั่งทะเลตามเขตอาร์กติก ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มอากาศแถบขั้วโลกปะทะกลุ่มอากาศจากอาร์กติก ลักษณะอากาศชุ่มชื้นและหนาวจัด ไม่มีฤดูอบอุ่นและฤดูร้อน
4. ลักษณะอากาศในเขตแนวน้ำแข็ง
icecape climate
ได้รับอิทธิพลจากลุ่มอากาศแถบอาร์กติกและแอนตาร์กติก ทำให้เกิดแนวน้ำแข็งกว้างใหญ่ อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง อากาศหนาวจัด
5. ลักษณะอากาศแบบที่สูงหรือภูเขาสูง
high land climate
ลักษณะอากาศเปลี่ยนแปลงตามความสูงของพื้นที่และที่ตั้งตามละติจูด
 Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoeay Klongtoeay Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@gmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile